เว็บนี้เป็นเพียงสื่อกลางสาระด้านยา ก่อนนำข้อมูลใดๆไปใช้ ประเมินความถูกต้องทุกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรคติดเชืื้ออุบัติใหม่

เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล 



                ไม่น่าเชื่อว่า  แม้ล่วงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ วิทยาการทางการแพทย์เจริญรุดหน้า ผู้คนต่างเข้าถึงการแพทย์   จะยังมีโรคเก่าๆ อุบัติขึ้นใหม่อีกครั้ง เช่น โรคติดเชื้อไวรัสที่เคยมีข่าว  หรือกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ที่โรงพยาบาลที่ข้าพเจ้าอยู่  ก็มีผู้ป่วย โรคไข้กาฬหลังแอ่น (MENINGOCOCCAL INFECTION)   มารักษา เล่นเอาเจ้าหน้าที่ พยาบาล แพทย์ ต้องกินยาป้องกัน กันให้ว่อน  

          โรคติดเชืื้ออุบัติใหม่ที่เคยมีมานานและปัจจุบันได้สูญหาย จนเราๆเอง ในฐานะบุคลากรการแพทย์ไม่ค่อยได้พบเห็นมีอะไรบ้าง เราไปศึกษาเรียนรู้กัน  Click


-------->  เยี่ยมชม  สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่   Click


เพิ่มเติมเคส ยากินป้องกันสำหรับผู้สัมผัสผู้ป่วย จะแบ่งเป็นความเสี่ยงต่ำ/สูง ศึกษาเพิ่มเติม


** Rifampicin ในผู้ใหญ่ ให้ 600 mg  oral q 12 hr  x 2 วัน *** 






วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์เภสัช



1. สอนอ่าน วันหมดอายุฉลากยา  รูปแบบใบปลิว  จากสถาบันเด็กแห่งชาติ  click
2. สาระปันยา -เอกสารความรู้งานสัปดาห์เภสัช [2553 เล่ม1] [2554 เล่ม2] [2555 เล่ม3]
3. อัพเดทความรู้ใหม่ๆ กับ นิตยสารวงการยา Click 
4.  สมุดบันทึกการใช้ยา (จากสัปดาห์เภสัช2554)   Click

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตรงประเด็น ..... บัตรแพ้ยาที่ถูกต้อง

สิ่งที่ต้องมีในบัตรแพ้ยา .....




1. มีชื่อยา พร้อมชื่อยาภาษาไทยให้คนไข้ได้อ่านได้ กรณีลืมบัตรจะได้บอกชื่อถูก
2. ต้องมีอาการที่เกิดว่าแพ้อย่างไร ( บัตรแพ้ยาส่วนใหญ่ที่เจอ ไม่มีอาการ มีแต่ชื่อยา )
3. ผลการประเมิน    ร้อยละ 70-80  ที่ขอดูบัตรจากผู้ป่วย ไม่มีผลการประเมินเลย
4. ผู้ประเมิน   ใครประเมิน (รพ.อะไร/คลินิกหมออะไร) วัน/เดือน/ปี ที่เกิดอาการ ที่ประเมิน   ร้อยละ 90 ไม่มีในส่วนนี้
5. (ควรมี)  คำแนะนำ เล็กๆ
       5.1   แพ้ยาตัวนี้ แต่ยาในกลุ่มเดียวกันที่ผู้ป่วยใช้ได้มีอะไรบ้าง  เช่น  แพ้ยา ibuprofen แต่ใช้ยา Mefenamic acid ได้ เป็นต้น 
       5.2   ยาที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยรายนี้  เลี่ยงกลุ่มใด  กลุ่มใดที่น่าจะใช้ได้ กลุ่มใดที่เฝ้าระวัง เพราะเกิดการ Cross reaction (แพ้ข้ามกัน) ได้  เป็นต้น


สิ่งเหล่านี้  ควรจะปฏิบัติและทำให้สมบูรณ์ เพื่อสื่อสารให้บุคคลากรการแพทย์อื่นตลอดจนผู้ป่วยได้เข้าถึงความปลอดภัยในการใช้ยา